วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2555

เทศกาลในฤดูต่างๆ

            งานเทศกาลต่างๆ ของญี่ปุ่น เป็นโอกาสที่ผู้คนได้พบปะครั้งสำคัญในทุกภูมิภาคตลอดทั้ง 4 ฤดู ในแต่ละปีการฉลองเทศกาลต่างๆเผยให้เห็นความนึกคิดของชาวญี่ปุ่น ซึ่งต้นกำเนิดของงานเทศกาลจะเกี่ยวเนื่องกับเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ที่เตือนความทรงจำให้นึกถึงค่านิยมที่ยึดถือกันมานาน เช่น งานเทศกาล โอ-บง ในฤดูร้อน ผู้คนจะกลับไปเยี่ยมบ้านเกิดและเคารพบรรพบุรุษ งานฉลองปีใหม่ในฤดูหนาว งานชมดอกไม้ในฤดูใบไม้ผลิ และเทศกาลชมสีสันของใบไม้เปลี่ยนสีในฤดูใบไม้ร่วง ทั้งหมดล้วนเป็นเทศกาลที่แสดงให้เห็นถึงความรักและชื่นชมในธรรมชาติของชาวญี่ปุ่นได้อย่างชัดเจน
           เทศกาลต่างๆ มีขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลทั้ง 4 ซึ่งนำความบันเทิงมาสู่ชุมชนในทุกภาคตลอดปี มีรายละเอียดดังต่อไปนี้คือ


ฤดูใบไม้ผลิ (มี.ค.-พ.ค.)

ฤดูแห่งดอกไม้บาน
จากวันแรกในต้นมีนาคมที่ดอกเหมยบานกระทั่งวันสุดท้ายของพฤษภาคมเมื่อดอกซากุระทางตอนเหนือโรย ถือเป็นช่วงเวลาอันสดใสของธรรมชาติที่งดงาม จึงทำให้มีการฉลองเทศกาล ท่ามกลางธรรมชาติทั่วญี่ปุ่น  


เทศกาลในฤดูใบไม้ผลิ 

วันที่ 3 มี.ค.  เทศกาลฮินะ (Hina Matsuri)

เป็นเทศกาลวันเด็กผู้หญิง มีการตกแต่งตุ๊กตาที่แต่งกายแบบใน ราชสำนัก บนหิ้งเป็นชั้นๆ ในบ้านที่มีลูกสาวยังเล็กอยู่ 



วันที่ 13 มี.ค.
เทศกาลคะซูกะ (Kasuga Matsuri)
ของศาลเจ้าคะซูกะ ในเมืองนารา (Nara) มีการฟ้อนรำโบราณที่มีอายุเก่าแก่กว่า 1,000 ปี


กลางมีนาคม
(15 วัน) มีการแข่งขันซูโม่ รอบที่ 2 ในโอซาก้า (Osaka)




วันที่ 1-30 เม.ย.
ระบำมิยะโกะ 
หรือระบำซากุระ ที่เกียวโตเป็นระบำญี่ปุ่นที่แสดงโดยนักฟ้อนรำที่เรียกว่า ไมโกะ (Maiko)


วันที่ 8 เม.ย.
เทศกาลถวายดอกไม้ (Hana Matsuri)
ตามวัดพุทธต่างๆ เพื่อระลึกถึงวันประสูติของพระพุทธเจ้า 


วันที่ 16-17 เม.ย.
เทศกาลยะโยอิ (Yayoi Matsuri)
ที่ศาลเจ้าฟุตะระซัน ในเมืองนิกโก้ (Nikko) มีขบวนแห่ตกแต่งสวยงาม

วันที่ 3-4 พ.ค.
เทศกาลฮะคะตะ โดนทะคุ (HakataDontaku) 
ในเมืองฟุกุโอกะ (Fukuoka) มีขบวนแห่เทพเจ้าบนหลังม้าตามตำนานญี่ปุ่น
เทศกาลแข่งว่าว 
ที่เมืองฮะมะมะทสุ (Hamamatsu) เป็นสนามแข่งว่าวที่มีการแข่งขันว่าวขนาดใหญ่ที่สุด 



วันที่ 5 พ.ค.
เทศกาลวันเด็กผู้ชาย 
มีการประดับธงปลาคาร์พหลากสีตามจำนวนลูกชายของแต่ละบ้าน ซึ่งโบกสะบัดโต้ลมฤดูใบไม้ผลิ อย่างสวยงามมาก




วันที่ 11 พ.ค.-15 ต.ค.
เทศกาลจับปลาโดยนกกาน้ำ 
ในแม่น้ำนะงะระ ที่เมืองเซคิในจังหวัดกิฟุ (Gifu)

วันที่ 15 พ.ค.
เทศกาลอะโออิ (Aoi Matsuri) 
ที่เมืองเกียวโต (Kyoto) มีขบวนแห่บุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์โบราณพร้อมขบวนรถที่ มีพรรณไม้ดอกหลากสีสัน

กลาง พ.ค.
(15 วัน) การแข่งซูโม่รอบที่ 3 ใน Tokyo 


วันที่ 17-18 พ.ค.
เทศกาลใหญ่ของศาลเจ้าโทโชกุ (Toshogu)
ที่เมืองนิกโก้ (Nikko) มีขบวนแห่นักรบกว่า 1,000 คน 



วันอาทิตย์ที่ 3 ของ พ.ค.
เทศกาลมิฟูเน่ (Mifune) 

บนแม่น้ำโออิในเกียวโต (Kyoto
เทศกาล Sanja ของศาลเจ้า Asakusa ในโตเกียว (Tokyoมีการแห่ศาลเจ้าใหญ่ๆ 3 ศาลเจ้า และศาลเจ้าย่อยๆ อีกนับร้อยกว่าศาลเจ้า 


ฤดูร้อน (มิ.ย.-ส.ค.)

ฤดูแห่งดอกไม้ไฟ 
ฤดูกาลแห่งดอกไม้ไฟที่อุดมสมบูรณ์ด้วย พืชพันธุ์พร้อมความเขียวขจีทั่วประเทศ ใบเขียวของซากุระ เมเปิ้ล โอ๊ค ในป่าเขา ตัดกับสีเขียวเข้มของต้นสนและต้นไผ่ที่โอนอ่อน ตามสายลมในตอนกลางวันและยามค่ำคืนบริเวณริมแม่น้ำในเมืองต่างๆ ทั่วทุกภาค เป็นเทศกาลที่ถือเป็นการรวมตัวของคนในชุมชนและผู้มาเยือน เพื่อร่วมชมเทศกาลดอกไม้ไฟ และชมระบำพื้นเมือง “Bon Odori” ที่มีสีสันและชีวิตชีวา




เสาร์ที่ 2 ของ มิ.ย.
เทศกาลม้า (Chagu-Chagu) 
ในเมืองโมริโอกะ (Morioka) มีขบวนแห่ม้าที่ประดับตกแต่งอย่างมีสีสัน


วันที่ 7 ก.ค.
เทศกาลดวงดาวแบบโบราณทานาบาตะ (Tanabata)
จัดขึ้นทั่วญี่ปุ่น แต่ที่เมืองเซนได (Sendai) ยิ่งใหญ่และมีชื่อเสียงที่สุด มีการประดับโคม
กระดาษหลากสีสวยงาม 

 กลาง ก.ค.
(15 วัน) การแข่งขันซูโม่ รอบที่ 4 ที่นาโงย่า (Nagoya)

วันที่ 13-15 ก.ค. 
(หรือ ส.ค. ในหลายพื้นที่) เทศกาลบง (Bon Festival) จัดทั่วประเทศ เป็นพิธีทางศาสนา เพื่อระลึกถึงดวงวิญญาณที่ล่วงลับไปแล้ว โดยมีการเต้นระบำโบราณ Bon Odori เพื่อระลึกถึงดวงวิญญาณเหล่านั้น

วันที่ 16-17 ก.ค.
เทศกาลกิออน (Gion) 
เป็นเทศกาลย้อนยุคไปศตวรรษที่ 9 ที่ใหญ่ที่สุดในเกียวโต (Kyoto) มีขบวนแห่ชุดแต่งกายโบราณผ่านถนนสายหลักหลายสาย

วันที่ 24-25 ก.ค.
เทศกาล Tenjin
ของศาลเจ้า Tenmanguในโอซาก้า (Osaka) มีขบวนแห่ศาลเจ้าบนเรือเหนือลำน้ำ Dojima 

เทศกาล Nebuta
วันที่ 1-7 ส.ค.
เทศกาลเนบุตะ (Nebuta)
มีขบวนแห่โครงหุ่นประดับไฟ ในเมืองอะโอะโมะริ (Aomori) จัดช่วง 2-7 สิงหาคม ส่วนเมือง
ฮิโรสะกิ (Hirosaki) จัดช่วง 1-7 สิงหาคม 

วันที่ 3-6 ส.ค.

เทศกาลคันโต (Kanto) 
ที่เมืองอะกิตะ (Akita) มีขบวนแห่แผงโคมไฟที่แขวนบนราวไม้ไผ่ 

เทศกาล Hanagasa

วันที่ 5-7 ส.ค.
เทศกาลฮะนะงะซะ (Hanagasa) 
ในเมืองยะมะงะตะ (Yamagata) มีขบวนฟ้อนรำของชาวเมืองจำนวน 10,000 คน ทุกคนสวมชุดหมวกฟางติดดอกไม้เทียม ซึ่งเป็นชุดประจำเทศกาล 

วันที่ 12-15 ส.ค.
เทศกาลระบำ Awa 
ที่เมืองโทะกุชิมะ (Tokushima) มีการร้องรำทั้งกลางวันและกลางคืน 


ฤดูใบไม้ร่วง (ก.ย.-พ.ย.)

ฤดูแห่งใบไม้แดง
เมื่อเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วงในเดือนกันยายน และตุลาคมเป็นช่วงเวลาที่มีอากาศเย็นสบาย นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงแห่งสีสันเป็นสีเหลืองส้ม ขุนเขาต่างๆ ถูกแต่งแต้มให้มีสีสันราวกับพรม ส่วนทุ่งนาก็ถูกเปลี่ยนเป็นสีทองนอกจากนี้ยังเป็นเวลาแห่งเทศกาลและกีฬาได้มาบรรจบกับกิจกรรมทางวัฒนธรรม หนึ่งในสัญลักษณ์ของฤดูนี้คือ งานเทศกาลดอกเบญจมาศ 

เทศกาลในฤดูใบไม้ร่วง

วันที่ 16 ก.ย.
งานแสดงขี่ม้ายิงธนู (Yabusame)
ที่ศาลเจ้า
ทซึรุงะโอะกะ ฮะจิมังกู (Tsurugaoka Hachimanguในเมืองคะมะคุระ (Kamakura) 



กลาง ก.ย. 
(15 วัน) แข่งซูโม่รอบที่ 5 ในโตเกียว Tokyo

วันที่ 7-9 ต.ค.
เทศกาลคุนจิ (Kunchi) 
ของศาลเจ้าซูวะ (Suwa) ในเมืองนะงะซะกิ (Nagasaki) มีระบำมังกรจีนดั้งเดิม

เทศกาล Takayama

วันที่ 9-10 ต.ค.
เทศกาลทาคายาม่า (Takayama) 
แห่ศาลเจ้าฮาจิมันงุ (Hachimangu) ซึ่งมีขบวนรถสีสันต่างๆ มากมาย 

กลาง ต.ค.
เทศกาลเมือง Nagoya
มีขบวนพาเหรดซามูไรตามถนนในเมือง 


กลาง ต.ค.-พ.ย.
เทศกาลดอกเบญจมาศที่ศาลเจ้าเมจิ Meiji และวัด Asakusa ในโตเกียว (Tokyo)



วันที่ 17 ต.ค.
เทศกาลฤดูใบไม้ร่วงของศาลเจ้าโทโซงุ (Toshogu)
ที่เมืองนิกโก้ (Nikko) มีขบวนพาเหรดของนักรบโบราณในชุดเสื้อเกราะ 

วันที่ 22 ต.ค.

เทศกาล Jidai 
เป็นเทศกาลย้อนยุคของศาลเจ้า Heian ในเกียวโต (Kyoto) ซึ่งเป็นหนึ่งใน 3 เทศกาลใหญ่ของ
เกียวโต 
เทศกาลไฟ 
จะมีขบวนแห่คบเพลิงมุ่งมายังศาลเจ้า Yukikurama ในเกียวโต (Kyoto
วันที่  2-4 พ.ย.
เทศกาลโอคุนจิ (Okunchi) 
ของศาลเจ้าคะระทสึ (Karatsu)ในเมืองซะงะ (Saga) มีขบวนแห่หุ่นปลา 



วันที่ 3 พ.ย.
ขบวนแห่เจ้าเมือง(Daimyo Gyoretsu)
ในเมืองฮะโกะเนะ (Hakone)

กลาง พ.ย.
(15 วัน) แข่งซูโม่รอบที่ 6 ในเมืองฟุกุโอะกะ (Fukuoka



วันที่ 15 พ.ย.
เทศกาลชิจิโงซัง (Shichi Go San) 
สำหรับเด็กอายุ 3, 5 และ 7 ปี จะไปศาลเจ้าเพื่อขอพรจากเทพเจ้าให้มีสุขภาพดีตลอดไป




ฤดูหนาว (ธ.ค.-ก.พ.)

ฤดูแห่งการเพลิดเพลินกับหิมะ
 
ฤดูหนาวในญี่ปุ่นไม่ค่อยรุนแรง ยกเว้นทางเหนือสุด อุณหภูมิโดยปกติจะอบอุ่นด้วยแสงอาทิตย์และฟ้าสีคราม
      เทศกาลต่างๆ จะเกี่ยวพันกับหิมะและน้ำแข็ง นักท่องเที่ยวจะเพลิดเพลินกับหิมะและรูปแกะสลัก พร้อมทั้งมีส่วนร่วมในประเพณีท้องถิ่นนั้นๆ ในช่วงเวลานี้จะมีงานเทศกาลต่างๆ จัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเทศกาลปีใหม่ ซึ่งถือเป็นวันสำคัญที่สุดสำหรับชาวญี่ปุ่น

เทศกาลในฤดูหนาว 

วันที่ 15-18 ธ.ค.
เทศกาลออน มัตสุริ (On Matsuri)
ของศาลเจ้าKasuga ในเมืองนารา (Nara) มีขบวนแห่สวมหน้ากาก



วันที่ 17-19 ธ.ค.
งาน Hagoita-Ichi 
ของวัด Asakusa Kannon ในโตเกียว (Tokyo) มีการออกร้านขายไม้ตีลูกขนไก่โบราณ

วันที่ 1 ม.ค.
วันปีใหม่ (New Year’s Day) 
มีจนถึงวันที่ 3 ร้านค้า โรงงาน ธุรกิจต่างๆ จะปิด ครอบครัวต่างฉลองด้วยอาหารมื้อพิเศษ พร้อมแต่งชุดกิโมโนที่สวยที่สุด และพากันไปวัดหรือศาลเจ้า เพื่อไหว้พระขอพรให้สุขภาพดี และมีความสุขตลอดปี 

กลาง ม.ค.
(15 วัน) การแข่งขันซูโม่รอบแรกในโตเกียว (Tokyo

ต้น ก.พ. (7 วัน)
เทศกาลหิมะ (Snow Festival)
ที่มีชื่อที่สุดในญี่ปุ่น อยู่ที่เมืองซัปโปโร (Sapporo) ณ สวน Odori บนเกาะฮอกไกโด (Hokkaido) ที่นี่จะมีการแข่งรูปแกะสลักหิมะจากนานาประเทศทั่วโลก ส่วนเทศกาลหิมะในเมืองอื่นๆ เช่น
อะซะฮิคะวะ (Asahikawa) อะบะชิริ (Abashiri) จะอยู่ระหว่างต้น-กลาง ก.พ. ของทุกปี 

วันที่ 3 หรือ 4 ก.พ.

เทศกาล Setsubun 
เป็นพิธีไล่สิ่งอัปมงคล ทำกันตามวัดใหญ่ทั่วประเทศ และตามบ้านเรือน
เทศกาล Lantern แห่โคมของศาลเจ้า Kasuka ในเมืองนารา (Nara)

วันที่ 15-16 ก.พ.
เทศกาลคะมะคุระ (Kamakura)
ของเมืองอะกิตะ (Akita Yokote) ซึ่งมีกระท่อมหิมะที่สร้างบูชาเทพเจ้าแห่งน้ำ




วันเสาร์ที่ 3 ของ ก.พ.
เทศกาล Saidai-ji Eyo Hadaka Matsuri (Naked Festival at Saidai-ji Temple)
ที่วัดไซไดหยิในเมืองโอคะยะมะ (Okayama) Keyword: มัทสึริ, มัตสึริ, เทศกาลในญี่ปุ่น, ฤดูร้อน, ฤดูใบไม้ผลิ, ฤดูใบไม้ร่วง, ฤดูหนาว, Matsuri

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น